skip to Main Content

STAR DELTA TIMER และการทำความเข้าใจการทำงาน

WIP / PRIMUS/ STAR-DELTA TIMER

หลายครั้งที่มีโอกาสได้เข้าตรวจสอบการทำงานของตู้ควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า ก็ได้เห็นบางตู้มีการนำ Timer แบบธรรมดามาใช้ควบคุมการภาคเพาเวอร์แบบสตาร์-เดลต้า พอได้เห็นนก็สงสัยว่า Timer สองชนิดนี้ต่างกันยังไงทำไมยังสามารถใช้งานแทนกันได้ในวงจรแบบสตาร์-เดลต้า ด้านล่างนี้

แหล่งที่มา : CLICK !!

ความแตกต่างของทามเมอร์

จากการดูรายละเอียดของวงจรทามเมอร์นั้นมันก็อาจจะใช้แทนกันได้จริงๆครับ ไม่น่ามีอะไรติดขัดตรงไหน ( เอาจริงๆผมก็เคยใช้นะ ตู้ก็ใช้งานมา 2 ปีไม่เห็นเสียตรงไหนเลย ) แต่ใครจะรู้หละ ความแตกต่างของมันก็คือ หน้าคอนแท็ เน้นเลยนะครับว่าหน้าคอนแท็ก!!ของสองทามเมอร์นี้มันต่างกัน ต่างกันอย่างมากและไม่ควรใช้ ทามเมอร์แบบธรรมดา แทนสตาร์ -เดลต้า ทามเมอร์นะครับ

จากภาพด้านบนจะเห็นว่าคอนแท็กของการทำงานในช่วง Star และการทำงานในช่วง Delta จะไม่มีการทำงานก่อนเลยถ้าไม่มีการต่อไฟเข้าที่ตัวทามเมอร์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับทามเมอร์แบบธรรมดารูปด้านล่างจะเห็นว่า คอนแท็กจะบังคับให้ช่วงเวลา Star เปิดก่อนเสมอเมื่อระบบไฟพร้อมสำหรับการใช้งาน ก็น่าจะไม่ใช่ระบบที่ดีเท่าที่ควรนะครับ

ตัวสตาร์ เดลต้า ทามเมอร์นี้ก็มีผลิตให้เลือกใช้งานอยู่หลายยี่ห้อเหมือนกัน แต่ที่เราใช้บ่อย จะเป็น Primus : PF01 และ WIP : W-SD ซึ่งราคาไม่ได้แพงขนาดนั้นเมื่อเทียบกับคุณภาพตัว W-SD น่าจะหามาลองใช้งานได้ที่ราคาถูกกว่าทามเมอร์แบบธรรมดาแบรนด์ดังๆด้วยซ้ำ แนะนำเลยครับ

This Post Has 0 Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *