Skip to content

บู้สเต้อร์ปั้ม ( Booster Pump ) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร?

Booster Pump ถูกนำมาใช้รักษาระดับแรงดันและอัตราการไหลของน้ำให้คงที่อยู่ในช่วงๆหนึ่งตามที่กำหนดของระบบๆนั้น เราอาจจะไม่สังเกตว่าในชีวิตประจำวันน้้นโดยทั่วไปเราอาจจะใช้ระบบนี้อยู่โดยที่ไม่รู้ตัว ตามอาคารสูง 2-3 ชั้นขึ้นไปจะใช้ระบบนี้ในการรักษาแรงดันน้ำเพื่อให้คนที่อยู่ชั้นสูงๆใช้น้ำได้ด้วยความดันและอัตรการไหลคงที่ตลอดเวลา ใช่ครับ! ปั้มที่เปิดๆ ปิดๆ ตลอดเวลานั่นแหละ Booster Pump แต่ที่เห็นตามบ้านเรือนน่าจะเป็นขนาดเล็ก เท่าที่เคยสังเกตุขนาด 1 แรงก็ค่อนข้างใหญ่แล้ว

[vc_single_image image=”1272″]

ระบบคร่าวๆก็ตามรูปด้านบนนะครับ มีปั้ม 2 ตัว มีถังแรงดัน มีตู้ควบคุม และอุปกรณ์ควบคุมอื่นๆอีกค่อนข้างเยอะพอสมควร ซึ่งจะไม่กล่าวในที่นี้

แล้วอินเวอร์เตอร์ ( VSD ) มีผลดียังไงกับระบบนี้

สำหรับการควบคุมระบบเดิมใช้แมกเนติกต่อตรงไฟฟ้า 3 เฟส 380VAC เข้าสู่มอเตอร์เลย ( DOL) นั้นอาจจะเหมาะสมสำหรับระบบที่ใช้มอเตอร์ที่มีกำลังประมาณไม่เกิน 2.2 Kw/3Hp เพราะถ้าใช้มอเตอร์ขนาด 3.7 Kw/5Hp ขึ้นไป เราจะเห็นความชัดเจนเรื่อง Starting Current ปรากฎขึ้นมีผลต่อระบบไฟฟ้าที่ควบคุมปั้มนี้ได้อย่างชัดเจน ดังสมการด้านล่าง

Stating Current (Amp) = (6~7) Kw*1000/(1.732*380)  – สำหรับไฟฟ้า 380Vac-

ที่นี้ลองคำนวณคร่าวๆใช้มอเตอร์ที่ 7.5 Kw ที่ 380Vac 3P ค่าที่สามารถคำนวณออกมาได้ของ Stating Current ก็คือ  68 Amp  ซึ่งถึงแม้จะเป็นกระแสที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะก็จริง แต่ก็มีผลอย่างมากต่อทั้งระบบไฟฟ้าทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ที่อาจจะเกิดการเสียหายง่ายกว่าปกติ การเสียหายของอุปกรณ์สตาร์ทมอเตอร์ตัวนั้น เช่น แมกเนติคหรือเบรคเก้อร์ หรือแม้กระทั่งการละลายของสายไฟฟ้านั้น ล้วนแล้วแต่ส่งผลไม่ดีต่อผู้ใช้งานทั้งนั้น อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนใหม่ ต่าใช้จ่ายสำหรับการที่ต้องเตรียมการซ่อมบำรุงตัวอุปกรณ์ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดการ Shut down ของระบบ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่พึงประส่งค์ของผู้ใช้งานทั้งสิ้น ทั้งนี้นอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมดจะมีสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากที่เกิดขึ้นจากการทำให้เกิด Starting Current ก็คือ การเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้า แน่นอนอาจจะเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างประเมินออกมาให้ดูได้ยาก แต่ลองคิดดูสิการที่กระแสเพิ่มขึ้นจากการใช้งานปกติ 6 – 7 เท่า ค่าใช้จ่ายก็น่าจะเพิ่มขึ้น 6-7 เท่าแน่นอน (ช่วงเวลาสั้นๆ)

 

แล้วการทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์ทำไมช่วยจัดการการเปิด-ปิด ตลอดเวลาของระบบ DOL ได้หละ ? คำตอบนั้นก็คือ ที่ในตัวอินเวอร์เตอร์มีระบบควบคุมที่ออกแบบมาซัพพอร์ตระบบ Booster pump โดยเฉพาะ เรียกว่า PID Function ที่เป็นลักษณะทาง Electrical Control System ที่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการตรวจจับค่าแรงดันน้ำอยู่เสมอ ( Pressure Transmitter ) และป้อนค่าที่ตรวจจับนี้กลับมาที่อินเวอร์เตอร์  อินเวอร์เตอร์ก็จะนำค่าที่ตรวจจับได้นั้นมาคำนวณในตัวของมันเอง แล้วทำการสั่งจ่ายความถี่ที่เหมาะสมไปที่มอเตอร์เพื่อควบคุมปั้มน้ำอีกต่อไป ซึ่งระบบ PID Controller จะถูกเขียนออกมาในรูปฟังก์ชั่นบล๊อก ดังรูปด้านล่าง

[vc_single_image image=”1277″]

ซึ่งค่าพารามิเตอร์ต่างๆที่ต้องการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ระบบปั้มน้ำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีที่สุดนั้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ภายในตัวของอินเวอร์เตอร์ได้เลย ยิ่งอินเวอร์เตอร์ที่มีราคาแพงขนาดไหน ฟังก์ชั่นตรงนี้ก็จะมีความเข้าใจง่ายหรือใช้ง่ายเข้าไปทุกที

แล้วผลิตภัณของ WKB คืออะไร ?

ผลิตภัณฑ์ของพวกเราเป็นชุดตู้อินเวอร์เตอร์ประกอบสำเร็จ พร้อมตัววัดความดัน และการเข้าจูนระบบที่หน้างาน เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้ดีที่สุด ซึ่งทางเราใช้อุปกรณ์มาตราฐานสากลตามรายละเอียดด้านล่าง

  1. อินเวอร์เตอร์ ใช้เป็น ATV310 และ ATV610 ของชไนเดอร์อิเล็กทริค
  2. ตู้ควบคุม ใช้เป็นตู้เหล็ก IP40 ของเดนโก้
  3. ชุดเบรคเก้อร์ ใช้มิตซูบิชิ อิเล็กทริค
  4. รีเรย์ ใช้ออมร่อน
  5. อุปกรณ์หน้าตู้ใช้เป็น IDEC
  6. Power Supply Mean-well
  7.  Presure transmitter ยี่ห้อ Tarfag ตามช่วงแรงดันที่ต้องการ

 

ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิ้งค์ด้านล่างนี้นะครับ