skip to Main Content

FX5U PID Control : Program and System #Part II

PID Controller / Tuning PID / Heat Process / FX5U / FR-800

ต่อเนื่องจากเรื่องพื้นฐานการอธิบายระบบควบคุมวงปิด และการใช้งาน FX5U เพื่อการสั่งการ Analog Output ผ่านทาง Built in – Analog output ของตัวมันเองจาก ตอนที่แล้ว ซึ่งเมื่อสามารถสั่งการความถี่ของอินเวอร์เตอร์จากพีแอลซีได้แล้วนั้นขึ้นตอนต่อไปก็คือการทำความเข้าใจค่าพารามิเตอร์หลักๆ ทั้ง 3 ตัวของระบบควบคุมแบบ PID คือ ค่า Kp , Ki , Kd ที่สามารถอธิบายได้ตามแผนภาพแบบวงปิดด้านล่างนี้นะครับ

ภาพที่ 1 : PID Close loop control Diagram
Source : https://osoyoo.com/2018/08/08/self-balancing-robot-pid-control/

จากภาพที่ 1 จะเห็นว่า ตัว Controller ได้ถูกแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วน Proportional (P) Integral (I) Derivative (D) ซึ่งแต่ละส่วนก็จะมีตัวคูณเป็นของตัวมันเอง Kp ,Ki ,Kd เรียงตามลำดับเลยนะครับ ตัวคูณทั้ง 3 ตัวนี้แหละจะมีผลต่อระบบควบคุมวงปิดอย่างมาก และจะได้เห็นในผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของค่าตัวคูณพวกนี้ใน GX Works 3 ที VDO ทดลองของเราครับ

เมื่อกล่าวย้อนกลับไปที่ระบบควบคุมวงปิดอีกครั้ง จะมีกราฟ 1 กราฟที่ค่อนข้างคุ้นเคยมากสำหรับนักเรียนไฟฟ้าควบคุมคือ กราฟผลตอบสนองจากระบบที่กำลังควบคุมโดยระบบ PID ซึ่งจะมีรูปร่างหน้าตาดังด้านล่างเลยครับ

กราฟที่ 1 ผลตอบสนองจากระบบที่ถูกควบคุมด้วย PID

จากการผลตอบสนอง ( Step response ) สามารถแจกรายละเอียดที่น่าสนใจของกราฟได้ดังนี้นะครับ

  • Rise Time : ความไวในการเข้าสู่ค่า Reference ของระบบ PID
  • Overshoot : ค่าที่เกิน Reference ขึ้นไปสูงสุด
  • Settling time : เวลาก่อนเข้าสู่ช่วง Steady State Error
  • Steady State Error : ช่วงเวลาที่ระบบควบคุมเข้าใกล้กับค่าที่ตั้งไว้และไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมา

เนื่องจากระบบทางความร้อนส่วนใหญ่ไม่ต้องการความไวในการเข้าสู่ช่วง Sittling Time มากขนาดนั้น และจากทฤษฏีทางด้านระบบควบคุมทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยหลัก ในการเข้าสู่ช่วงเวลา Sittling Time ว่าจะไวหรือช้านั้นเป็นผลจาก Kd ที่ถูกใส่เข้าไปในระบบนั่นเอง ดังนั้นในการทดลองกระบวนการทางความร้อนนี้ เราจะใช้แค่ 2 ค่าในการจูนนะครับ คือ P กับ I (PI Controller) ซึ่งจะสามารถสังเกตุการเปลี่ยนแปลงจาก 2 ค่านี้ได้จากภาพที่ 2 และ ภาพที่ 3 ตามด้านล่างนี้นะครับ

ภาพที่ 2 : ผลจากการเปลี่ยนแปลง Kp กับระบบ

ผลจาก Kp กับระบบควบคุมวงปิด

ผลจาก Kp จะทำให้ระบบเข้าสู่ค่า reference ได้ไวขึ้น มีช่วงเวลา Rise time ที่น้อยลง ระบบจะตอบสนองไวขึ้นถ้าเพิ่มค่านี้ไป แต่ให้ระวังดีๆนะครับ การเพิ่มเยอะกว่าที่ควรจะเป็นจะส่งผลให้ระบบเกิดค่า Overshoot สูงขึ้นตามไปด้วย

ภาพที่ 3 ผลจากการเปลี่ยนแปลง Ki และ Kp กับระบบ

ผลจาก Ki และ Kp กับระบบควบคุมวงปิด

ผลจาก Ki เมื่อทำงานร่วมกับ Kp ก็จะทำให้ระบบเข้าสู่ค่า Reference ได้ไวเหมือนกันและทำให้เกิด Overshoot ได้ค่อนเยอะเหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ การเพิ่ม Ki เข้าไปสู่ระบบที่มี่ Kp อยู่แล้ว จะทำให้ระบบนั้นๆสามารถเข้าสู่ช่วงเวลาเสถียรภาพได้ ( Steady State ) ซึ่งการใช้ Kp อย่างเดียวไม่สามารถทำได้

เราได้ทำการเขียนโปรแกรมและทดสอบระบบการจูน PI จาก FX5U เพื่อควบคุมระบบความร้อนแบบคร่าวๆ ตาม VDO ด้านล่างนี้นะครับ ลองศึกษารายละเอียดโปรแกรมกันได้เลย

หมายเหตุ ส่วนของ Integral (I) ใน FX5U จะเป็นการปรับค่า Integral Time (Ti) นะครับ

VDO 1 : การทดลองจูนค่า PID ใน FX5U พีแอลซี เพื่อสั่งการ FR-E800 อินเวอร์เตอร์

This Post Has 0 Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *