Transfer Pump /…
Star Delta VS. บิลค่าไฟฟ้า
Star Delta Starter / Control Panel / VSD
หลายคนคงทราบดีว่าการเปิดมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ Star-Delta ช่วยลดค่ากระแสช่วงเปิดของมอเตอร์ตัวใหญ่ๆได้ โดยการอาศัยหลักการสลับการทำงานของแมกเนติค 3 ตัวทำงานสลับคู่กัน 2 โหมด คือ โหมดสตาร์ ตอนช่วงเปิดและโหมดเดลต้าตอนช่วงทำงานปกติของมอเตอร์ ซึ่งอาจจะสามารถดูได้จาก Diagram ตามด้านล่าง
ช่วง สตาร์ KM3 ทำงานคู่กับ KM1 แล้วพอถึงเวลาที่ตั้งไว้แล้ว ทามเมอร์ จะสลับการทำงานจากคู่ KM3 , KM1 ไปสู่ช่วง เดลต้า โดยการใช้แมกเนติค KM3 กับ KM2 เป็นแมกเนติคคู่หลักในการจ่ายไฟเข้าที่มอเตอร์ ซึ่งแน่นอน ช่วงเวลาระหว่างการเปลี่ยนถ่ายจาก KM1 ไปเป็น KM2 จะมีช่วงจังหวะของการสลับหน้าคอนแท็กหลักทำให้เกิดกระแสช่วงนั้นตามรูปด้านล่าง
จากกราฟของกระแสเทียบกับความเร็วด้านบน ( เส้นเข้มๆ ) จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าช่วงจังหวะของการเปลี่ยนจากสตาร์ไปเป็นเดลต้า จะเกิดกระแส Peak ขึ้นในระบบ ยิ่งถ้าเป็นการตัดต่อจากหน้าคอนแท็กของแมกเนติคที่ไม่ได้ดีอย่างที่คิด ยิ่งเกิดช่วงกระแส Peak มากยิ่งขึ้น เส้นที่เห็นอาจจะพีคถึง 800% ก็เป็นได้
ถ้าลองคิดดูเล่นๆจากการสตาร์มอเตอร์ 11 Kw/15 Hp 380-400Vac ที่มีกระแสที่ 22 A ช่วงจังหวะเดลต้าจะมีกระแสแบบพีคสูงสุดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ที่ 150-160 A เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้นๆได้
แล้วกระแสแบบพีค มันเกี่ยวอะไรกับค่าไฟฟ้าที่อาจจะเพิ่มขึ้น ?
ที่จริงแล้วค่าไฟที่การไฟฟ้าเรียกเก็บไปที่โรงงานต่างๆมันมีการเรียกเก็บแบ่งกำลังการใช้งานออกเป็น 2 ส่วน คือ ค่าการใช้งานกำลังไฟฟ้าแบบปกติและค่าการใช้งานกำลังไฟฟ้าแบบ Peak ซึ่งเกิดจากกระแสแบบ Peak นั่นเอง ( หมายเลข 2 ในบิลตัวอย่าง ) แน่นอนการ เปิดๆ ปิดๆ ระบบสตาร์เดลต้าโดยไม่มีการวางแผนอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเท่าไหร่ในยุคที่ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4 บาทแบบนี้
ที่มา
This Post Has 0 Comments